วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2511 ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ก่อตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยได้กำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยเป็นหนึ่งในสองคณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) Bachelor of Arts (B.A.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 15 สาขาวิชาเอก ในปัจจุบันคณะอักษรศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

รายนามภาควิชาที่เปิดสอน
ภาควิชาภาษาไทย
ภาควิชาภาษาอังกฤษ
ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส
ภาควิชาภาษาเยอรมัน
ภาควิชาประวัติศาสตร์
ภาควิชาภูมิศาสตร์
ภาควิชานาฏยสังคีต
สาขาวิชานาฏศาสตร์
สาขาวิชาสังคีตศิลป์
ภาควิชาปรัชญา
ภาควิชาสังคมศาสตร์
สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
ภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก
สาขาวิชาภาษาจีน
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
สาขาวิชาภาษาอาหรับ
สาขาวิชาภาษาเกาหลี
หมวดวิชาทัศนศิลป์
หมวดวิชาตันติภาษา
โครงการพิเศษ
เอเชียศึกษา

คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร

คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนในหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 6 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน,สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์,สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์,สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา,สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา,สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง 2 ปี ใน สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย โดยจัดการเรียนการสอนใน 7 ภาควิชา ได้แก่

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
ภาควิชาการออกแบบตกแต่ง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบตกแต่ง ภายในอาคารที่พักอาศัยและ อาคารเพื่อธุรกิจต่างๆ ศึกษาโครงสร้างอาคาร เทคนิคในการก่อสร้าง การจัด เนื้อที่ใช้สอย การออกแบบ และการจัดวางเครื่องเรือน ศึกษา ศิลปะการตกแต่ง ทั้งที่เป็นลักษณะศิลปกรรมไทย และแนวนิยมทางตะวันออก และตะวันตก รวมถึงมีความสามารถในการบริหาร งานออกแบบ และเข้าใจในเรื่องการตลาด การประมาณราคา และหลักการ ดำเนินการออกแบบตกแต่ง


ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ เรียนรู้ทักษะด้านการออกแบบด้านการสื่อสารรอบตัวที่มองเห็นด้วยสายตา ไม่ว่าจะเป็นเชิงการออกแบบวัฒนธรรมหรือการออกแบบการสื่อสารต่างๆที่ต้องการการออกแบบเพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์ที่สุดผ่านแนวความคิด ส่วนที่เห็นปกติก็พวกออกแบบเลขนศิลป์สิ่งพิมพ์.อย่างเช่น โปสเตอร์ หนังสือ มากมายลองมองรอบตัวแล้วจะพบว่าออกแบบนิเทศศิลป์มีอยู่ทุกแห่ง การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมอย่างเช่น พวกป้ายตามท้องถนน ป้ายสุขา หรือตามงานอีเว้น เลขนศิลป์ของภาพนิ่ง ภาพยนตร์ วีดีโอ การสร้างภาพประกอบ และการออกแบบโฆษณา ประยุกต์ใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับเทคนิควิทยาทางการออกแบบ มีหลักและวิธีการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจการออกแบบนิเทศศิลป์


ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ความรู้พื้นฐานในศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม วัสดุและกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม การวิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำหุ่นจำลอง และการนำเสนอแบบ พฤติกรรมผู้บริโภคและการตลาด การประมาณราคาและการจัดการ รวมทั้งการออกแบบอื่นๆเช่นการออกแบบหีบห่อและเลขนศิลป์ การออกแบบงานพลาสติก และ งานโลหะ


ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
การออกแบบสร้างสรรค์ศิลปประยุกต์ ประติมากรรมประยุกต์ ภาพพิมพ์ประยุกต์ ศิลปะไทย ประเพณี และศิลปสิ่งทอ และให้รู้จักคิด วิเคราะห์ คือเน้นไปในทางงานส้รางสรรค์และการออกแบบ ประยุกต์นั้นเป็นภาควิชาเดียวที่นำงานศิลปะที่ผ่านกระบวนการคิดและดัดแปลงให้ดูสวยงานและดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้น คือจะเน้นไปในทาง ART หรือไปในทางสร้างสรรค์ก็ได้ประยุกต์นั้นจะแบ้งออกเป็น5เอกด้วยคือ Applied Painting,จะเป็นการวาดภาพที่เน้นไปในเชิงFine Art หรือในเชิงการวาด แบบป็อปArt ก็ได้งานเพ้นมีหลายแบบด้วยกัน ,Applied Sculpture ,Applied Print, Making Applied ,Applied Thai Art,Textile Art


ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
ศึกษาการปั้น การสร้างพิมพ์ และการหล่อ เทคนิคการตกแต่ง การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตเครื่องเคลือบดินเผา รวมถึงการจัดและบริหารงานอุตสาหกรรมและการตลาด ในธุรกิจเครื่องเคลือบดินเผา


ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
ศึกษาการออกแบบ โดยอาศัยความรอบรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ ศิลปศาสตร์การออกแบบ ศิลปวัฒนธรรม และเครื่องประดับของไทย รวมถึงเศรษฐกิจ สังคม การตลาด การจัดการ เทคโนโลยี จรรยาบรรณที่ดีงาม


ภาควิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
เปิดสอนสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการออกแบบ โดยอาศัยความรอบรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ ศิลปศาสตร์การออกแบบ ศิลปวัฒนธรรม และเครื่องแต่งกายของไทย


หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์
หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ปรับปรุงมาจากห้องปฏิบัติงานปั้น สิ่งทอ และวิชาพื้นฐานศิลปะของคณะ ดำเนินการโดยคณะกรรมการหอศิลปะและการออกแบบ และแล้วเสร็จในวันที่
19 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
จัดแสดงผลงานของอาจารย์ นักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์
เป็นศูนย์รวมการแสดงผลงาน และแลกเปลี่ยนทางวิชาการศิลปะและการออกแบบ
เป็นศูนย์ข้อมูลทางศิลปะและการออกแบบ

คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

คณะโบราณคดีได้ตั้งขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดี ของกรมศิลปากร หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี
ภายหลังมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับตลาดแรงงานในปัจจุบันมากขึ้น เช่น สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หรือ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ทำให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพต่างๆได้ เช่น มัคคุเทศก์ นักเขียน นักเขียนสารคดี พนักโรงแรม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ประชาสัมพันธ์ นักข่าว ฯลฯ


ปรัชญา
"ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"


ภาควิชา
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรประกอบด้วย
ภาควิชาดังต่อไปนี้
ภาควิชาโบราณคดี
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
ภาควิชามานุษยวิทยา
ภาควิชาภาษาตะวันออก
ภาควิชาภาษาตะวันตก (สาขาวิชาภาษาอังกฤษ)
ภาควิชาภาษาตะวันตก (สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส)
หมวดวิชาประวัติศาสตร์


หลักสูตรการศึกษา

ระดับปริญญาบัณฑิต
คณะโบราณคดี เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 7 สาขาวิชาเอก คือ
สาขาวิชา
โบราณคดี
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
สาขาวิชา
มานุษยวิทยา
สาขาวิชา
ภาษาไทย
สาขาวิชาภาษาตะวันออก (
ภาษาบาลี,สันสกฤต,เขมร)
สาขาวิชา
ภาษาอังกฤษ
สาขาวิชา
ภาษาฝรั่งเศส
วิชาโท 4 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาประวัติศาสตร์
สาขาวิชาพิพิธภัณฑ์สถานวิทยา
สาขาวิชามัคคุเทศก์ศึกษา
สาขาวิชา
ภาษาฮินดี โดยจะเลือกวิชาโทในชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
นอกจากนี้ ยังเปิดสอนวิชาเลือกเสรี สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรในคณะอื่นๆ คือ
สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
เปิดสอนในหลักสูครศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี 11 สาขาวิชา คือ
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
มานุษยวิทยา
จารึกภาษาตะวันออก
จารึกภาษาไทย
ภาษาสันสกฤต
เขมรศึกษา
การจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร
การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ภาษาเพื่อการสื่อสารเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต มี 4 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
สาขาวิชาเขมร

ชี้ตลาดขาดแคลนอาชีพครู

รองเลขาธิการ กพฐ. ชี้ตลาดขาดแคลนอาชีพครูเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
วอนครูแนะแนวทั่วประเทศสนับสนุนเยาวชนที่อยากเป็นแม่พิมพ์

รองเลขาธิการ กพฐ. ชี้ตัวเลขขาดแคลนครูเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าภายใน 15 ปี จะมีข้าราชการครูเกษียณมากว่า 250,000 คน เสนอคุณครูแนะแนวทั่วประเทศสนับสนุนเยาวชนที่อยากเป็นแม่พิมพ์ของชาติให้เรียนต่อคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มั่นใจอีก 5 -15 ปี ความต้องการตลาดสูง อาชีพครูไม่ตกงานแน่นอน

นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “อาจารย์แนะแนวกับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาไทย” ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับบริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด จัดขึ้น โดยมีคุณครูแนะแนวจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 500 คน เข้าร่วมสัมมนา ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า อีก 5 – 15 ปีหลังจากนี้อาชีพครูจะเป็นที่ต้องการของตลาดมากอย่างแน่นอน เนื่องจากตัวเลขการขาดแคลนครูมีมาก โดยในปี 2551 ที่ผ่านมา จะพบว่ามีอัตราว่าง 4,000 อัตรา อัตราข้าราชการครูเกษียณฯ 5,000 อัตรา และข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนกำหนด (Early Retire) อีก 12,000 อัตรา ทำให้ต้องมีการสอบบรรจุข้าราชการครูมากถึง 21,000 อัตรา และในปี 2552 นี้ ก็ยังมีโครงการเกษียณก่อนกำหนดอีก ทั้งยังมีข้าราชการครูเกษียณอีกไม่น้อยกว่า 7,000 อัตรา นอกจากนี้ ยังคาดการณ์กันว่าภายใน 15 ปี จะมีข้าราชการครูเกษียณมากกว่า 250,000 คน
นายวินัย กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นจึงอยากฝากให้ครูแนะแนวทุกคนช่วยแนะนำและสนับสนุนให้นักเรียนที่มีใจรักในความเป็นครูได้เข้าศึกษาต่อด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ โดยครูแนะแนวซึ่งเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการดูแล ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ควรจะต้องทราบข้อมูลเหล่านี้ และบอกกล่าวกับนักเรียนที่อยากเรียนครูให้เลือกเรียน เพราะเชื่อว่าอีก 5 ปี เมื่อเด็กเรียนจบครูออกมาแล้วจะไม่ตกงานแน่นอน

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

[ [ ครู ] ]





ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอแล้วครับ


คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ, คุรุ”ครูในระดับอุดมศึกษา


ผู้สอนในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษา จะมีตำแหน่ง อาจารย์โดยอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ (อ.), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.),รองศาสตราจารย์ (รศ.) และ ศาสตราจารย์ (ศ.) ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา


ตำแหน่งครู คือบุคคลที่ทำหน้าช่วยสอน สอนทบทวน สอนภาคปฏิบัติแตกต่างจากอาจารย์ที่ สอนภาคบรรยาย


ครูใหญ่

ครูที่ทำหน้าที่ดูแลระบบทั้งโรงเรียนจะเรียกว่า ครูใหญ่ ซึ่งคล้ายคลึงกับคณบดีหรืออธิการบดี ในระดับอุดมศึกษา โดยหน้าที่ของครูใหญ่มักจะทำหน้าที่ดูแลระบบการจัดการของโรงเรียนมากกว่าการสอนในห้องเรียน ต่อมาเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีทั้งครูใหญ่…, อาจารย์ใหญ่…, ผู้อำนวยการ… ณ ปัจจุบันใช้”ผู้อำนวยการสถานศึกษา” เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน…, ผู้อำนวยการวิทยาลัย…ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา แต่ต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการสอนอย่างน้อย 5 ชั่วโมง / สัปดาห์


จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

1.ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

2.ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3.ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

4.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

5.ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6.ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง
วิทยาการ เศรษฐกิจสังคมและการเมืองอยู่เสมอ

7.ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู

8.ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

9.ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

ครุศาสตร์

คณะครุศาสตร์ (Faculty of Education)
มีภาควิชาซึ่งรับผิดชอบในการเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ 4 ภาควิชา คือ
ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา (Curriculum Instruction and Educational Technology )
ภาควิชาศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา (Art, Music and Dance Education)
ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา (Educational Policy, Management, and Leadership)
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา (Educational Research and Psychology)


ก่อนอื่นก็ขอบอกก่อนว่า คณะเรา ชื่อว่าคณะครุศาสตร์นะคะ ไม่ใช่คุรุ ค่ะ ครุ - แปลว่าหนัก 555555 ก็คงจะหนักค่ะ สำหรับบางคน คณะเราจะได้ชื่อว่าเป็นคณะครุศาสตร์และการรายงาน เพราะรายงานจะเยอะมาก การเรียนก็คล้ายมัธยมอยู่บ้าง มีการเช็คชื่อเข้าเรียน แอบโหดนะเนี่ย แต่สนุกค่ะ ได้ความรู้หลายด้าน (เรียนไปทั่ว) จะหนักสุดก็ตอนฝึกสอนล่ะคะ ยังดีที่ของรุ่นพี่นั่น ฝึกแค่ 1 เทอม แต่รุ่นหลังๆเนี่ย อาจจะ 1 ปีนะคะ (ไม่แน่ใจ) แต่สนุกดีค่ะ ทำให้เราได้รู้ว่าเราจะเหมาะที่เป็นครูหรือไม่ เอาเป็นว่าเรียนที่คณะนี้ไม่หนักหรอกค่ะ สบายๆ ไม่เครียดเท่าไหร่ ลองมาดูตอนหางานนี่เครียดกว่าตั้งเยอะค่ะ

ครุศาสตร์ ชื่อก็บอกว่าเรียนและค้นคว้าให้หนัก เพื่อจบไปจะได้เป็นครูที่มีความพร้อมที่จะสอนนักเรียน แต่หนักอย่างไรก็เป็นสิ่งที่มีความสุขเพราะเหมือนเรากำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์เป็นทุนรอนสำหรับวันข้างหน้า เป็นครูต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาไม่ใช่จบได้ปริญญาแล้วจบการศึกษา เรียนคณะนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะนำนักเรียนให้เป็นผู้สนใจใฝ่หาความรู้ เป็นศาสตร์ซึ่งมีแต่ความดีงามและความภาคภูมิใจ ถ้าอยากเรียนสอบให้ได้นะน้อง เวลาฝึกสอนจะรู้สึกดีมากๆ ถ้าสิ่งที่เราสอนนักเรียนสามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง

คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา

ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา

Bachelor of Education Program in Mathematics

ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา

ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรรม

คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง

คณะศึกษาศาสตร์ เปิดสอน 3 สาขาวิชา
1. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
1.1 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) ประกอบด้วย
1. ภาษาไทย
2. ภาษาอังกฤษ
3. ภาษาฝรั่งเศส
4. สังคมศึกษา
5. วิทยาศาสตร์
6. คณิตศาสตร์
7. การประถมศึกษา
8. การปฐมวัยศึกษา
9. ธุรกิจศึกษา
10. ศิลปศึกษา
11. ภาษาจีน
12. พลศึกษา
13. คหกรรมศาสตร์

1.2 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) ประกอบด้วย
1. คหกรรมศาสตร์
2. การเป็นผู้นำและการบริหารจัดการนันทนาการ

1.3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. คหกรรมศาสตร์
2. การเป็นผู้นำและการบริหารจัดการนันทนาการ
2. สาขาจิตวิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. จิตวิทยาสังคม
2. จิตวิทยาการให้การปรึกษา
3. จิตวิทยาคลินิกและชุมชน
4. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
5. จิตวิทยาพัฒนาการ

3. สาขาภูมิศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. ภูมิศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

- สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา Educational Technology and Communications

หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา Computer Education
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาคณิตศาสตร์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาเคมี) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาชีววิทยา) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาฟิสิกส์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาพัฒนาสังคม) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา 5 ปี แขนงวิชาพลานามัย

คณะศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตร 5 ปี

- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนชีววิทยา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนเคมี
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาจีน
-
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนชีววิทยา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนเคมี
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาจีน
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาญี่ปุ่น
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนดุริยางคศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนดุริยางคศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนฟิสิกส์
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนดุริยางคศึกษา
-
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนฟิสิกส์
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี

-
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
- สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา
- สาขาวิชาดุริยางคศึกษา